สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล ให้มีกฎหมายว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เนื่องด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้มีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กันอย่างแพร่หลาย อันทำให้การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อกำกับหรือประกอบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แพร่หลายตามไปด้วย เพื่อให้การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นที่น่าเชื่อถือเช่นเดียวกับการลงลายมือชื่อแบบธรรมดา สมควรวางหลักเกณฑ์และวิธีการที่เชื่อถือได้ในการสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถระบุตัวบุคคลผู้ลงลายมือชื่อและที่แสดงว่บุคคลนั้น เห็นชอบด้วยกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์กำกับหรือประกอบ กับสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัย รวมทั้งลายมือชื่อดิจิทัลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น และโดยที่ลายมือชื่อดิจิทัลเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์แบบปลอดภัยซึ่งใช้เทคโนโลยีสูงและเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน สมควรกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในรายละเอียดเกี่ยวกับ ลายมือชื่อดิจิทัลโดยเฉพาะให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลที่นานาประเทศถือปฏิบัติ ทั้งในเรื่องการสร้างลายมือชื่อดิจิทัล การรับรอง ใบรับรอง ผู้ประกอบการรับรอง รวมทั้งองค์กร ที่นอกจากจะทำหน้าที่ในการกำกับการประกอบการรับรองแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ในการ ส่งเสริมการพัฒนาการทางเทคโนโลยีเพื่อให้มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างหรือใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพตลอดเวลาโดยใกล้ชิดอีกด้วย
ผู้เสนอ
๑. นายบุญมาก ศิริเนาวกุล ๒. นายทรงพล โกวิทศิริกุล
๓. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๔. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
๕. นายเจะอามิง โตะตาหยง
พรรค ประชาธิปัตย์
ผู้รับรอง
๑. นายอาคม เอ่งฉ้วน ๒. นายถาวร กาสมสัน
๓. นายเจริญ คันธวงศ์ ๔. นายปัญญา จีนาคำ
๕. นายมาโนชญ์ วิชัยกุล ๖. นายอำนวย สุวรรณคีรี
๗. นายนิพนธ์ ธาราภูมิ ๘. นายสมเกียรติ ฉันทวานิช
๙. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ๑๐. นายวิทยา แก้วภราดัย
๑๑. นางคมคาย พลบุตร ๑๒. นายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์
๑๓. นายสืบแสง พรหมบุญ ๑๔. นางนิภา พริ้งศุลกะ
๑๕. นายปรีชา สุวรรณทัต ๑๖. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๑๗. นายไพร พัฒโน ๑๘. นางวรศุลี เชาว์ศิริกุล
๑๙. นายสุชาติ แก้วนาโพธิ์ ๒๐. นายประกอบ จิรกิติ
๒๑. นายชุมพล กาญจนะ

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๓
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๕๖/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๓
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายนพคุณ นพรัตน์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล ส่งผลกระทบให้รัฐบาลต้องจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินมาเป็นเงินอุดหนุน ตามความเหมาะสมเป็นรายปี อีกทั้งในการใช้อำนาจรัฐมนตรีที่รักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าบริการด้วยจะทำให้ รัฐมีรายรับจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียม

กรณีร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
    หนังสือแจ้งผู้เสนอ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๕๓๙๓ ลงวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๓
    หนังสือแจ้งจากผู้เสนอ (กรณีคัดค้านร่าง) ที่ ลงวันที่
                 ( ) คัดค้าน    ( ) ไม่คัดค้าน     ( ) ไม่แจ้งคัดค้านภายใน 7 วัน
    หนังสือส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๕๒๕๘ ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๓
    หนังสือแจ้งเหตุขัดข้องจากเลขาธิการนายกฯ ที่ นร ๐๑๑๓/๒๑๖๗๓ ลงวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๓
    แจ้งเหตุขัดข้องให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรทราบ(กรณีเปิดสมัยประชุม)
    ในการประชุม ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๓
    หนังสือนายกรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่
                 ( ) รับรอง    ( ) ไม่รับรอง
    หนังสือแจ้งผู้เสนอ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ลงวันที่

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา