สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติสภาการเกษตรแห่งชาติ พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล ให้มีกฎหมายว่าด้วยสภาการเกษตรแห่งชาติ โดยที่ประชากรของประเทศส่วนใหญ่ประกอบ อาชีพทางด้านการเกษตร แต่เกษตรกรกลับเป็นกลุ่มอาชีพที่มีปากเสียงในระดับนโยบาย น้อยมากเป็นเหตุให้เกษตรกรมีระดับการครองชีพอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่ม อาชีพอื่น ๆ และเมื่อเกิดปัญหาก็จะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ทั้งนี้ เนื่องจากขาดองค์กร ทางด้านการเกษตรที่มีประสิทธิภาพ ในการนี้จึงจำเป็นต้องจัดตั้งสภาการเกษตรแห่งชาติขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ประการแรกมุ่งให้เกษตรกรได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนะกรอบนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติเพื่อสามารถจะได้แก้ไขปัญหาด้านการเกษตรได้ตรงประเด็นและ เป็นระบบ ประการที่สองเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการประสานงานเพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งเกี่ยวกับ ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับสถาบันเกษตรกรต่าง ๆ กับภาคธุรกิจของ เอกชน และรัฐบาล และประการสุดท้ายเพื่อปรับระบบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาดให้เป็นระบบสอดคล้องกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการนำไปสู่ระบบการเกษตรแบบยั่งยืนต่อไป
ผู้เสนอ ประชาชน ๕๐,๐๐๐
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลต๐๐๓/๓๒๖๒ ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๓
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๕๔/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๓
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายนพคุณ นพรัตน์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานสภาการเกษตรขึ้นในทุกจังหวัด รวมทั้งการให้เงินอุดหนุนแก่สภา การเกษตรและกองทุนฟื้นฟูชีวิตเกษตรกรนั้น มีผลทำให้รัฐต้องจัดสรรเงินงบประมาณของ แผ่นดินมาดำเนินการ

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๓
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

สถานภาพของร่างฯ การพิจารณาตามมาตรา 178