สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล สมควรมีกฎหมายจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 321 บัญญัติให้มีการจัดตั้งสำนักงาน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขึ้นภายในสองปีนับแต่วันประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญนี้ เพื่อเป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติที่เป็นอิสระ ตามมาตรา 302 โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกฎหมายจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขึ้น ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญดังกล่าว
ผู้เสนอ
๑. นายปรีชา สุวรรณทัต ๒. นายวิเชียร คันฉ่อง
๓. นายตรีพล เจาะจิตต์ ๔. นายเจริญ คันธวงศ์
๕. นายวิชัย ตันศิริ ๖. นายสืบแสง พรหมบุญ
พรรค ประชาธิปัตย์
ผู้รับรอง
๑. นายไพร พัฒโน ๒. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๓. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา ๔. นายประวิช นิลวัชรมณี
๕. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ๖. นายโกวิทย์ ธารณา
๗. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๘. นายถวิล ไพรสณฑ์
๙. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๑๐. นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ
๑๑. นายสนั่น สุธากุล ๑๒. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร
๑๓. นายอาคม เอ่งฉ้วน ๑๔. นายธีระ สลักเพชร
๑๕. นายเอกพจน์ ปานแย้ม ๑๖. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล
๑๗. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ๑๘. นายธวัช วิชัยดิษฐ
๑๙. นายสัมพันธ์ ทองสมัคร ๒๐. นายอำนวย สุวรรณคีรี

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๑
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๕๑/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๑
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นางสินี ส้มมี  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล การกำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ เลขาธิการคณะกรรมการมีหน้าที่ควบคุมดูแลราชการของสำนักงาน โดยสำนักงานดังกล่าว ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงิน คงคลังและวิธีการงบประมาณ ทำให้รัฐต้องขาดรายรับและต้องจัดสรรเงินงบประมาณราย จ่ายของแผ่นดินมาดำเนินการ

กรณีร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
    หนังสือแจ้งผู้เสนอ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๕๑๕๙ ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๑
    หนังสือแจ้งจากผู้เสนอ (กรณีคัดค้านร่าง) ที่ ลงวันที่
                 ( ) คัดค้าน    ( ) ไม่คัดค้าน     ( ) ไม่แจ้งคัดค้านภายใน 7 วัน
    หนังสือส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๕๙๙๑ ลงวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๔๑
    หนังสือแจ้งเหตุขัดข้องจากเลขาธิการนายกฯ ที่ นร ๐๑๑๓/๑๔๙๐๓ ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๔๑
    แจ้งเหตุขัดข้องให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรทราบ(กรณีเปิดสมัยประชุม)
    ในการประชุม ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๑
    หนังสือนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๑๓/๓๐๙๐ ลงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒
                 ( / ) รับรอง    ( ) ไม่รับรอง
    หนังสือแจ้งผู้เสนอ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ลงวันที่

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
สถานภาพของร่างฯ ผู้เสนอขอถอน
เหตุผลของการขอถอนร่าง กรณีของการเสนอร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มีสาระและหลักการอยู่ในร่างพระราชบัญญัติ ที่คณะรัฐมนตรีเสนอมาอยู่แล้ว ในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒