สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล เพิ่มเติมวรรคสองของมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เนื่องจากตามกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ ได้กำหนดให้อธิบดีกรมป่าไม้มีอำนาจอนุญาตเป็นหนังสือแก่กระทรวง ทบวง กรม หรือบุคคลอื่นใด ให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้ เฉพาะกรณีเพื่อ ประโยชน์ในการศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กระทรวง ทบวง กรม มีความจำเป็น ที่ต้องใช้ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการเปิดเป็นจุดผ่านแดน ผ่าน หรือใช้ทาง หรือเพื่อการก่อสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามกฎหมายที่ส่วนราชการนั้นๆ มีอำนาจหน้าที่จึงเห็นสมควรกำหนด อำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมป่าไม้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณืในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ผู้เสนอ
๑. นายอำนวย คลังผา ๒. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์
๓. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ
พรรค ไทยรักไทย
ผู้รับรอง
๑. นายเมธี ฉัตรจินดารัตน์ ๒. นายทองดี มนิสสาร
๓. นายสุพล ฟองงาม ๔. นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์
๕. นายลิขิต หมู่ดี ๖. นายประทวน เขียวฤทธิ์
๗. นายพายัพ ปั้นเกตุ ๘. นางสาวคนึง ไทยประสิทธิ์
๙. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ๑๐. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๑. นายสนั่น สบายเมือง ๑๒. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๑๓. นายนพดล อินนา ๑๔. นายถวิล ฤกษ์หร่าย
๑๕. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๑๖. พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ
๑๗. นายวิทยา ทรงคำ ๑๘. นางบุญรื่น ศรีธเรศ
๑๙. นายเกรียงไกร ไชยมงคล ๒๐. นางลาวัณย์ ตันติกุลพงศ์

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๕
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๔๙/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๕
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๕
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

การพิจารณาของร่างฯ รอการพิจารณาในวาระที่ ๑ (สภาผู้แทนราษฎร)