สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล เนื่องจากคุณสมบัติของผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์เรือจดทะเบียนเป็นเรือไทยตามที่กำหนด ไว้ ในมาตรา ๗ มาตรา ๗ ทวิแห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๘ ไม่เหมาะสมกับ สภาพการณ์ในปัจจุบัน ทำให้การลงทุนในกิจการกองเรือพาณิชย์ไม่คล่องตัว สมควร แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวเสียใหม่เพื่อขยายโอกาสให้มีการลงทุนในกิจการ กองเรือพาณิชย์ มากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๑๔/๖๔๐๒ ลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๙
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๔๙/๒๕๓๙ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายวิมล กสิบุตร  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล การปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์ในบริษัทเรือไทยที่ทำการค้าในน่านน้ำ ไทย และที่ทำการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการขยายโอกาสและส่งเสริม ให้มีการลงทุนในกิจการกองเรือพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นอันเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบ กิจการด้านพาณิชย์นาวีหันมาจดทะเบียนการลงทุนเพิ่มขึ้น

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๑๙ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๓๙
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

หมายเหตุ รอการพิจารณาวาระที่ ๑ ระหว่างนั้นมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๙ จึงทำให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตกไป
สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา