สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดต่อเศรษฐกิจของประเทศ พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล ให้มีกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยที่ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาภาวะทางการเงินของประเทศนั้น เนื่องจากสถาบันการเงินบางแห่งได้บริหารการเงินที่ไม่เป็นไปโดยสุจริต มีการนำเงินฝากของประชาชนไปให้สินเชื่อที่ไม่เป็นความจริงหรือช่วยเหลือพวกพ้อง ทำให้ระบบการเงินของประเทศไม่เป็นไปตามปกติ และเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน จนมีปัญหาทำให้สถาบันการเงินนั้นไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ และถูกปิดกิจการในที่สุด แต่การกระทำเหล่านั้นส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศดดยรวมและประชาชนทั้งประเทศต้องรับเคราะห์กรรมจากการกระทำดังกล่าว จนเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องกู้เงินจากต่างประเทศจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาที่สถาบันการเงินและผู้ที่ได้รับประโยชน์ในการนั้นได้ก่อขึ้น เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก สมควรที่จะต้องมีกฎหมายกำหนดความผิดในการกระทำลักษณะดังกล่าวเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีส่วนร่วมชดใช้การกระทำความผิดที่ตนก่อขึ้นให้กับประเทศชาติ
ผู้เสนอ
๑. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง ๒. นายขจิตร ชัยนิคม
๓. นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ
พรรค ความหวังใหม่
ผู้รับรอง
๑. นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ ๒. นายบุญชง วีสมหมาย
๓. นายเวียง วรเชษฐ์ ๔. นายเอี่ยม ทองใจสด
๕. นายมานะ คูสกุล ๖. พลอากาศเอก จรูญ วุฒิกาญจน์
๗. นายไพศาล จันทรภักดี ๘. นายอำนวย คลังผา
๙. นายประยุทธ นิจพานิชย์ ๑๐. นายธนเทพ ทิมสุวรรณ
๑๑. นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ ๑๒. นายมานพ จรัสดำรงนิตย์
๑๓. นายกุศล หมีเทศ ๑๔. นายก่ำชุง ประภากรแก้วรัตน์
๑๕. นายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ ๑๖. นายเจริญ จรรย์โกมล
๑๗. นายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล ๑๘. นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
๑๙. นายธัญ การวัฒนาศิริกุล ๒๐. นายสันติ พร้อมพัฒน์
๒๑. นายบุญเกิด หิรัญคำ ๒๒. พลตรี ศรชัย มนตริวัต
๒๓. นายอรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๑
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๔๒/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๔๑
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายเสกสรร เพ็ญจันทร์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เป็นการกำหนดลักษณะความผิดของสถาบันการเงิน วิธีการดำเนินคดีและการลงโทษ ตาม ร่าง พ.ร.บ. ให้อัยการยื่นคำร้องขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งให้ทรัพย์สินของสถาบันตกเป็นของ แผ่นดินและการยื่นคำร้อง อัยการได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม ตามหลักประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่ออัยการยื่นคำฟ้องหรือคำร้องจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม แต่อัยการสามารถวางฎีกาเพื่อเบิกเงินชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมศาลคืนได้ และตามมาตรา17 กำหนดให้เงินหรือทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งให้ตกเป็นของแผ่นดินทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าว รัฐจะมี รายรับต่อเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เป็นรายได้ที่ไม่แน่นอนและเป็นลักษณะของการ กำหนดอัตราโทษ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นร่างพ.ร.บ.เกี่ยวด้วยการเงิน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

สถานภาพของร่างฯ ผู้เสนอขอถอน
เหตุผลของการขอถอนร่าง เนื่องจากผู้เสนอลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงนำออกจากระเบียบวาระ การประชุม ตามข้อบังคับ ฯ ข้อ ๕๒