สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนฉบับประชาชนตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐
หลักการและเหตุผล ให้มีกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน โดยที่มาตรา ๔๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะ หรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นหรือของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยได้ กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ ดังนั้น จึงต้องมีกฎหมายส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นที่มี ชีวิตสัมพันธ์กับป่าได้มีส่วนร่วมกับรัฐในการใช้ประเพณีและภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่หลาก หลายเพื่อการอนุรักษ์ การจัดการ และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าอย่างสมดุลและ ยั่งยืน และทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีความรู้สึกเป็นเจ้าของทรัพยากรป่า อันจะเป็นการส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือในการช่วยรักษาระบบนิเวศน์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม รวมทั้งเป็น การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้น
ผู้เสนอ ประชาชน ๕๐,๐๐๐
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร คปช๐๒๒/๒๕๔ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๓
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๓๖/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๓
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายนพคุณ นพรัตน์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล การบัญญัติให้บรรดาไม้และของป่าที่ได้จากป่าชุมชนที่ทำโดยถูกต้องตามข้อบังคับของ คณะกรรมการจัดการป่าชุมชนและแผนการจัดการป่าชุมชนตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ได้ รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้และกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ มีผลกระทบทำให้รัฐขาดรายได้ในส่วนนี้ไป

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๓
    ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๓ ถึง วันพุธที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๓
    มติ ( / ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

ส่งคณะกรรมการ ( ) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
( ) คณะกรรมาธิการสามัญ
( / ) คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๒๗ คน

  ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. ....
  คณะกรรมาธิการประกอบด้วย
 
๑. นายกฤษฎาง แถวโสภา ๒. นายกุศล หมีเทศ
๓. นายไกรสิทธิ์ ไกรสิทธิพงศ์ ๔. นายชัยวิทย์ ไทยอาภรณ์
๕. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ๖. นายตรีพล เจาะจิตต์
๗. นายทวีศักดิ์ สุภาศรี ๘. นายนิกร จำนง
๙. นายบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์ ๑๐. นายประเทือง วิจารณ์ปรีชา
๑๑. นายประภัตร โพธสุธน ๑๒. นายปรีชา มุสิกุล
๑๓. นายปลอดประสพ สุรัสวดี ๑๔. นายพงษ์พันธุ์ นุตราวงศ์
๑๕. นายเพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ ๑๖. นางวรศุลี เชาว์ศิริกุล
๑๗. พันตำรวจโท วิจิตร สุวิทย์ ๑๘. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๑๙. นายวิเชียร คันฉ่อง ๒๐. นายวินัย เสนเนียม
๒๑. นายวิรัช ร่มเย็น ๒๒. นายวิสูตร สมนึก
๒๓. นายสนั่น สุธากุล ๒๔. นายสืบแสง พรหมบุญ
๒๕. นายสุธี กรกมลพฤกษ์ ๒๖. นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์
๒๗. นายอภิชาต การิกาญจน์
  หนังสือยืนยันมติ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ว ๒๑๖ ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๓
  กำหนดแปรญัตติ วัน สิ้นสุดวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๓
  ใช้ร่างพระราชบัญญัติของ คณะรัฐมนตรี เป็นหลักในการพิจารณา

  ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
  เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๐๒๐/๒๕๔๓ ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี (ร่างฯหลัก)
เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๑๑๘/๒๕๔๑ ผู้เสนอ นายประกิจ  พลเดช (ร่างฯทำนองเดียวกัน)
เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๑๖๐/๒๕๔๑ ผู้เสนอ นายตรีพล  เจาะจิตต์ (ร่างฯทำนองเดียวกัน)
เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๑๖๓/๒๕๔๑ ผู้เสนอ นายสุรสิทธิ์  นิติวุฒิวรรักษ์ (ร่างฯทำนองเดียวกัน)
เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๐๗๐/๒๕๔๒ ผู้เสนอ นายจำลอง  ครุฑขุนทด (ร่างฯทำนองเดียวกัน)
เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๐๓๖/๒๕๔๓ ผู้เสนอ ประชาชน ๕๐,๐๐๐ รายชื่อ (ร่างฯทำนองเดียวกัน)

  คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่
  ผลการพิจารณา ( ) มีข้อสังเกต        ( ) ไม่มีข้อสังเกต
  หนังสือส่งรายงานกรรมาธิการไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่      ลงวันที่

สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา