สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๑๗ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ พรรคการเมือง (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล ให้พรรคการเมืองจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองขึ้นภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่หัวหน้าพรรคการเมืองได้รับแจ้งการจดทะเบียนพรรคการเมืองจากนายทะเบียนซึ่งจะต้องดำเนินการจัดตั้งสาขา พรรคการเมืองในแต่ละภาค ภาคละไม่น้อยกว่าเก้าสิบสาขา แต่ละสาขาต้องมีสมาชิก ไม่น้อยกว่า หนึ่งร้อยคน
ผู้เสนอ
๑. นายส่งสุข ภัคเกษม
พรรค ราษฎร
ผู้รับรอง
๑. นายวิจิตร แจ่มใส ๒. นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ
๓. นายทรงยศ รามสูต ๔. นายทวี พุทธจันทร์
๕. นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ ๖. นายทรงศักดิ์ ทองศรี
๗. นายจักรพันธ์ ทัตติยกุล ๘. นายพิชัย มงคลวิรกุล
๙. นายสาคร พรหมภักดี ๑๐. นางอุบล บุญญชโลธร
๑๑. นายเนวิน ชิดชอบ ๑๒. นายจำลอง ครุฑขุนทด
๑๓. นายสง่า ธนสงวนวงศ์ ๑๔. นายวราเทพ รัตนากร
๑๕. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ๑๖. นายเมธา เอื้ออภิญญกุล
๑๗. นายทองคำ เขื่อนทา ๑๘. นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว
๑๙. นายสนธยา คุณปลื้ม ๒๐. จ่าสิบตรี อุดม วรวัลย์

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๓๕/๒๕๓๕ ลงวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๓๕
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล การกำหนดให้พรรคการเมืองต้องจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองภาคละไม่น้อยกว่า 90 สาขา ไม่เข้าลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
หมายเหตุ ตกไปเนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2535
สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา