สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล เนื่องจากพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานประกอบกับ สภาวการณ์ในปัจจุบันที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้การดำเนินการไม่บรรลุ วัตถุประสงค์ตามหลักการสหกรณ์และขาดความคล่องตัว บทกำหนดโทษก็ยังไม่เหมาะสม และแก้ไขประกาศของคณะปฏิวัติให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
ผู้เสนอ
๑. นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก ๒. นายสุรพล เกียรติไชยากร
พรรค ชาติพัฒนา
ผู้รับรอง
๑. นายประสิทธิ์ จันทาทอง ๒. นายยรรยง ร่วมพัฒนา
๓. นายประสพ บุษราคัม ๔. นายธรรมนูญ เจริญดี
๕. นายพินิจ สิทธิโห ๖. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
๗. พลตำรวจตรี วุฒิ สุโกศล ๘. นายโสภณ เพชรสว่าง
๙. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๑๐. นายวิชิต แสงทอง
๑๑. นายสุนัย จุลพงศธร ๑๒. นางสาวธารทอง ทองสวัสดิ์
๑๓. ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ ๑๔. นายสุชน ชามพูนท
๑๕. นายทวีศักดิ์ สุภาศรี ๑๖. นายประทวน เขียวฤทธิ์
๑๗. นายบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์ ๑๘. นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย
๑๙. นายปิยะ ปิตุเตชะ ๒๐. นายจำลอง ครุฑขุนทด

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๙
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๒๗/๒๕๓๙ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๙
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสหกรณ์และประกาศของคณะปฏิวัติ ให้มี ความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๑๙ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๙
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

หมายเหตุ รอการพิจารณาวาระที่ ๑ ระหว่างนั้นมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ ๒๘กันยายน ๒๕๓๙ จึงทำให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตกไป
สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา