สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล เพื่อปรับปรุงกฎหมายสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน เพื่อแก้ไข ปัญหาอุปสรรคของระบบสหกรณ์ แก้ในมาตรา ๑๒๖ ให้สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย อาจมีรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล แต่ก็เป็นไปตามกฎหมาย ปัจจุบัน ซึ่งแก้ไขไว้แล้วในมาตรา ๑๐๗
ผู้เสนอ
๑. นายอาคม เอ่งฉ้วน ๒. นางอัญชลี วานิช เทพบุตร
๓. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร ๔. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
พรรค ประชาธิปัตย์
ผู้รับรอง
๑. นายสุวโรช พะลัง ๒. นายอภิชาติ การิกาญจน์
๓. นายสมควร โอบอ้อม ๔. นางวรศุลี เชาว์ศิริกุล
๕. นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ ๖. นายโกวิทย์ ธารณา
๗. นายสมัย เจริญช่าง ๘. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
๙. นายมาโนชญ์ วิชัยกุล ๑๐. นายสมชาย สุนทรวัฒน์
๑๑. นายสุรเชษฐ์ แวอาแซ ๑๒. พันตำรวจโท วิจิตร สุวิทย์
๑๓. นายชุมพล กาญจนะ ๑๔. นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
๑๕. นายถาวร เสนเนียม ๑๖. นายพรศักดิ์ เปี่ยมคล้า
๑๗. นายตรีพล เจาะจิตต์ ๑๘. นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
๑๙. นายจุติ ไกรฤกษ์ ๒๐. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๙
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๒๑/๒๕๓๙ ลงวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๓๙
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล แก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๑๙ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๓๙
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

หมายเหตุ รอการพิจารณาวาระที่ ๑ ระหว่างนั้นมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๙จึงทำให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตกไป
สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา