สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล เนื่องจากพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.๒๔๙๙ ได้ใช้บังคับมาเป็น เวลานานแล้วทำให้มีบทบัญญัติบางส่วนที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรที่จะปรับปรุงใหม่ โดยกำหนดมาตรการในการควบคุมการประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนของสัตว์ ซึ่งเป็นพาหนะให้เกิดโรคระบาดสัตว์ อย่างหนึ่งได้ด้วยรวมทั้งสมควรปรับปรุง อำนาจหน้าที่ของสัตวแพทย์ สารวัตร และอธิบดี ในการควบคุมโรคระบาดสัตว์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และปรับปรุง อัตราโทษให้สูงขึ้นเพื่อให้เกิดผลบังคับตามพระราชบัญญัตินี้ได้อย่างจริงจังและปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมเสียใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๑๔/๒๖๔๓ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๑๐/๒๕๓๙ ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายนพคุณ นพรัตน์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล รัฐต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินมาเพื่อดำเนินการ

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๑๙ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๖ มีนาคม ๒๕๓๙
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

หมายเหตุ รอการพิจารณาวาระที่ ๑ ระหว่างนั้นมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๙ จึงทำให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตกไป
สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา